Photo Photo
Home

 

ประวัติ ความเป็นมา

 

ปี 2520 สถาบันจัดตั้งหน่วยวิจัยสถาบัน เพื่อทำหน้าที่

  1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบัน
  2. รวบรวมและจัดเตรียมแผนพัฒนาสถาบัน ติดตามผลการปฏิบัติตามแผน และจัดทำรายงาน
  3. วิเคราะห์ระบบการทำงาน ระบบการควบคุมของหน่วยต่างๆ และวางระบบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหาร
  4. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดจากการบริหาร และให้ความสนับสนุนทางวิชาการและทางปฏิบัติแก่หน่วยงานอื่นๆ ของสถาบันโดยให้ขึ้นตรงต่อรองอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนา

 

ปี 2531 ยกฐานะหน่วยวิจัยสถาบันขึ้นเป็นกองแผนงาน สังกัดสำนักงานอธิการบดี เพื่อเป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางของระบบงานนโยบายและแผนของสถาบัน มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับการจัดทำแผน จัดทำงบประมาณ การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผน ตลอดจนรับผิดชอบระบบคลังข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงานของสถาบัน ประกอบด้วย 5 งาน คือ

  1. งานวิเคราะห์แผนและงบประมาณ
  2. งานวิจัยสถาบัน
  3. งานวางผังแม่บท
  4. งานวิเทศสัมพันธ์
  5. งานธุรการ

 

ปี 2534 ปรับเปลี่ยนงานวิเทศสัมพันธ์ เป็นงานรายงานและเผยแพร่

 

ปี 2536 ปรับเปลี่ยนหน่วยงานภายในจากงานเป็นฝ่าย ประกอบด้วย 6 ฝ่าย คือ

  1. ฝ่ายวิเคราะห์และประสานการวางแผน
  2. ฝ่ายวิจัยสถาบัน
  3. ฝ่ายวิเคราะห์งบประมาณ
  4. ฝ่ายผังแม่บท
  5. ฝ่ายรายงานและประเมินผล
  6. ฝ่ายธุรการ

 

ปี 2542 ปรับเปลี่ยนฝ่ายรายงานและประเมินผล เป็นฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา

 

ปี 2546 ปรับเปลี่ยนฝ่ายวิเคราะห์งบประมาณ เป็นฝ่ายวิเคราะห์และประเมินงบประมาณโดยมีภารกิจ คือ

  1. พัฒนาระบบบริหารจัดการงานนโยบายและแผน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
  2. วิเคราะห์ จัดสรร และพัฒนาระบบงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันให้บรรลุเป้าหมาย
  3. วางแผนและจัดสรรการใช้ทรัพยากรที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบัน
  4. พัฒนาระบบและกลไกในการควบคุมคุณภาพการปฏิบัติงานตามภารกิจของสถาบัน
  5. พัฒนาระบบฐานข้อมูล รวบรวม จัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ และดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย เพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารงานของสถาบัน

 

ปี 2551 ผู้บริหารสถาบันมีนโยบายให้สำนักงานอธิการบดี ปรับโครงสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับระบบและวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยมุ่งเน้นให้งานบริการมีลักษณะเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว เป็นการลดขั้นตอนการทำงาน และสายการบังคับบัญชา อีกทั้งในปัจจุบันองค์กรภาครัฐจะต้องปรับรูปแบบองค์กรเพื่อรองรับการบริหารงานยุคใหม่ ซึ่งต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ สามารถถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์ของสถาบันไปยังระดับหน่วยงานและระดับบุคคลที่เชื่อมโยงในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น การกำหนดนโยบายและแผนจะต้องมีกลไกในการกำกับ ติดตาม และวัดผลการดำเนินงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับอย่างเป็นระบบ ประกอบกับในปัจจุบันทุกองค์กร ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยทั้งภายใน ภายนอก และการแข่งขันเชิงคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหน่วยงานเพื่อให้สมารถรองรับนโยบายการพัฒนาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการเพิ่มขีดสมรรถนะของสถาบันให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและปรับบทบาทเพื่อรองรับงานด้านวิจัย และพัฒนา

 

สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 4/2551 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 มีมติเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างภายในสำนักงานอธิการบดี และตามประกาศสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ลงวันที่ 1 กันยายน 2551 แบ่งส่วนราชการภายในกองแผนงานออกเป็น 6 กลุ่มงาน คือ

  1. กลุ่มงานบริหารยุทธศาสตร์
  2. กลุ่มงานงบประมาณ
  3. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา
  4. กลุ่มงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  5. กลุ่มงานบริหารความเสี่ยง
  6. กลุ่มงานบริหารและธุรการ

 

HISTORICAL BACKGROUND

 

NIDA’s Planning Division was founded over 30 years ago dating back to 1970s. The chronological account of the Division since then is as follows:  

In 1977,the Institute’s Research Section was established in order to assume responsibility for:  

  1. Gathering and analyzing information related to the operation of the Institute.  
  2. Collecting and devising the Institute’s development plan, tracing the implementation in accord with the plan, and compiling a report. 
  3. Analyzing the performance system and internal work unit control system as well as setting up the administrative data system.
  4. Providing other NIDA work units with advice related to research, data analysis originated from administration, as well as academic and practical support.  

 

At the time, the Research Section was directly supervised by the Vice President for Administration and Development. 

 

In 1988, or around ten years later, the Research Section of the Institute was promoted and became the Planning Division under the supervision of the President Office. This work unit turned to be the epicenter of the Institute’s policy and planning system. It was directly responsible for drawing up plans, setting budget, monitoring, and evaluating the performance result in compliance with the plan. The Division was also responsible for the database system for the Institute’s administration. The Planning Division consisted of the following five sections.        

  1. Plan and Budget Analysis Section
  2. Institute’s Research Section
  3. Master Plan Formulation Section
  4. Foreign Relations Section
  5. General Administrative Section

 

In 1991, the Division was transformed into the Foreign Relations Section mainly responsible for reports and dissemination of information.  

 

In 1993,as a result of the internal restructuring, the Section was changed and became a department comprising six departments as follows:

  1. Plan Analysis and Coordination Department
  2. Institute’s Research Department
  3. Budget Analysis Department
  4. Master Plan Department
  5. Report and Evaluation Department
  6. General Administration Department

 

In 1999, the Report and Evaluation Department was changed into the Education Quality Assurance Department.  

 

In 2003, the Budget Analysis Department was transformed and became the Budget Analysis and Evaluation Department.  The Department carried out the following missions:

  1. Develop a policy and plan management system as a guideline for implementation.
  2. Analyze, allocate, and develop the budget system to ensure that the Institute’s performance successfully meets its target.   
  3. Plan and allocate land and buildings to support the Institute’s implementation. 
  4. Develop the system and mechanics in assuring the quality of the Institute’s implementation in accord with its mission  
  5. Devise a database system; collect/ retain IT data; and conduct studies/analyses/research for consideration and decision-making of NIDA’s Administration.

 

In 2008, NIDA’s Administration had a policy for the President Office to adjust NIDA structure for a more effective system and practical approach. The policy accentuated a one-stop service, thereby reducing redundant workflow and complicated lines of command. In addition, the government agencies, at the time, needed to adjust their organization to serve modern administration which primarily focused on effective strategies. In this regard, the Institute had to be able to convey its vision, missions, and strategic plans down to its work units and personnel. By this means, all would be properly aligned in the same direction. For that reason, the Institute’s policy and plan formulation required effective mechanisms in systematically supervising, monitoring, and assessing its performance for a useful feedback. In addition, all organizations faced changes from both internal and external factors as well as competitiveness in terms of quality. As a result, it was imperative for NIDA to adjust its structure so that it could cope with the quality development policy in a continuous manner. Such improvement was extremely important for the Institute to raise its standard of competence so that it was ready to adapt to any change and to adjust its roles to assume responsibility for research and development.

 

NIDA Board of Regents, in its Meeting No. 4/2008 Council dated 28 July 2008, had a resolution to reorganize the President Office and according to the Board’s Announcement on Administration in the President Office of NIDA dated 1 September 2008, the Planning Division was divided into six sections as follows:   

  1. Strategy Management Section
  2. Budget Section
  3. Research and Development Section
  4. Education Quality Assurance System Development Section
  5. Risk Management Section
  6. Administrative and General Affairs Section

 

Information

กองแผนงาน

อาคารนราธิปพงศ์ประพันธ์ ชั้น 7

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

118 ถนนเสรีไทย แขวงคลองจั่น
เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
โทรศัพท์: 0 2727 3000 ต่อ 3350-3362

โทรสาร: 0 2374 8444
E-mail Address: This e-mail address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.